วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สำนวนสุภาษิต

               



                        สำนวนสุภาษิตไทย

 


       
 ความหมายของสำนวนไทย

            สำนวนไทย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวนคือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัย โดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่าสำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใสหมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

 

ที่มาของสำนวนไทย

1. มีที่มาจากธรรมชาติ

     เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ   ดังตัวอย่าง

สำนวน                                               ที่มา                                                      ความหมาย

เข้าไต้เข้าไฟ                  เวลาใกล้ค่ำต้องจุดไต้ ให้แสงสว่าง                             เวลาพลบค่ำ



2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต

           เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน                                          ที่มา                                                ความหมาย
นุ่งเจียมห่มเจียม                            การแต่งกาย                                       แต่งตัวพอสมกับฐานะ

3.  ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม

            เช่น  การทำมาหากิน  การกระทำ  ประเพณี  การละเล่น  การศึกษา  การเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง
สำนวน                                        ที่มา                                                ความหมาย

ทำนาบนหลังคน                         อาชีพการทำนา              การแสวงหาผลประโยชน์ ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น

4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ

            เช่น ทางศาสนาและความเชื่อ  ดังตัวอย่าง

สำนวน                                        ที่มา                                                ความหมายขนทรายเข้าวัด                   การทำบุญก่อพระเจดีย์ทรายที่วัด           การหาประโยชน์ให้ส่วนรวม

5.  ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ

            เช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น  ดังตัวอย่าง

สำนวน                                        ที่มา                                                ความหมาย


ชักใย                                  การเล่นหุ่นและหนังตะลุง                             บงการอยู่เบื้องหลัง

  

6.  ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา  วรรณคดี  ตำนาน  นิทาน  ประวัติศาสตร์

        ดังตัวอย่าง

สำนวน                                        ที่มา                                            ความหมาย

เนื้อถ้อยกระทงความ                       ารใช้ภาษา                            เนื้อความที่แยกแยะออก เป็นข้อ ๆ  




 ตัวอย่างสำนวนสุภาษิตไทย




ไก่เห็นตีนงูงูเห็นนมไก่  


 

             ความหมายของสำนวนนี้หมายถึง คนสองคนที่ต่างคนต่างรู้เรื่องราวมีมาแต่เดิมของอีกฝ่ายมาเป็นอย่างดีหรือรู้ความลับของอีกฝ่าย โดยที่คนอื่นไม่ทราบหรือรู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย เช่น คนสองคนทำตนเป็นคนมั่งมีหรือมีความรู้สูงเพื่้ออวดคนอื่นๆ แต่ทั้งสองคนนี้ต่างรู้ไส้กันดีว่าแท้จริงแล้ว อีกคนหนึ่งก็ไม่มีเงิน อีกคนหนึ่งก็ไม่มีความรู้เลยอะไรเลย เมื่อมาพบกันเข้าจึงเท่ากับว่า ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วงูก็ไม่มีตีน ไก่ก็ไม่มีนม 



แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร


           ความหมายสํานวนนี้หมายถึง การยอมแพ้หรือยอมความให้อีกฝ่ายเป็นผู้ชนะ เพื่อให้เรื่องราวที่มีปัญหาสงบหรือยุติลงด้วยการอดกลั้นระงับความโกธรไม่ต่อปากต่อคำ ถ้าหากไม่ยอมแพ้หรือต่อปากต่อคำไปอีก ก็อาจจะมีปัญหาเป็นเรื่องเป็นราวบานปลายใหญ่โตเกิดขึ้นได้ 



แกว่งเท้าหาเสี้ยน


           ความหมายสำนวนนี้หมายถึง  คนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกหรือเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นโดยไม่จำเป็น จนตัวเองได้รับความเดือดร้อนหรือคนที่ชอบรนหาเรื่องใส่ตัวแส่เข้าไปยุ่งกับเรื่องของคนอื่นโดยไม่จำเป็นทั้งๆที่เรื่องนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนเองแม้แต่น้อยนิด จนตัวเองได้รับความเดือดร้อน หาเรื่องมาใส่ตัวเองแท้ๆอยู่ดีๆไม่ชอบกลับหาเรื่องเดือดร้อนมาใส่ตัวเอง

กิ้งก่าได้ทอง


สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

        
      ความหมายสำนวนนี้หมายถึง คนเย่อหยิ่งจองหอง หรือลำพองตน เป็นการพูดเตียนบุคคลผู้หลงผิดคิดว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือคนที่มีฐานะด้อย เมื่อได้ดีแล้วลืมตัว ทำเย่อหยิ่งไม่นึกถึงคนที่เคยทำคุณแก่ตน

                                               

ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

                                           

                                                   

             ความหมายของสำนวนนี้หมายถึง คนที่สวยงามเกิดขึ้นได้จากการแต่ง คนจะงามได้ก็ต้องแต่งตัวให้ดูดี

 ขี่ช้างจับตั๊กแตน


                 ความหมายของสำนวนนี้หมายถึง ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็กๆเท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ดีไม่คุ้มกับที่ลงทุน


กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี

                                            à¸ªà¸¸à¸ à¸²à¸©à¸´à¸•

               ความหมายของสำนวนนี้หมายถึง คนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้ มีความกล้าหาญ สติปัญญาเป็นเลิศ ที่ช่วยให้บ้านเมืองรอดพ้นจากเหตุการณ์เลวร้าย




กินปูนร้อนท้อง


 
         

           ความหมายของสํานวนนี้หมายถึง เมื่อกระทำความผิดแล้วกลัวว่าคนอื่นจะจับได้ว่าตนได้กระทำความผิดไว้ โดยแสดงอาการมีพิรุธ แสดงอาการเดือดร้อนออกมาให้เห็นเอง





กบเลือกนาย

 


                ความหมายของสํานวนนี้หมายถึง  การช่างเลือก ช่างสรรหาเพื่อที่จะให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังหรือมีความต้องการ เป็นคนเลือกมาก แต่ท้ายสุดกลับได้ของที่ไม่ต้องการหรือไม่มีค่าอะไรเลย



กบในกะลา




กบในกะลา

                 
               ความหมายของสํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงผู้ที่คิดว่าตนมีความรู้มาก แต่ที่จริงแล้วมีความรู้และประสบการณ์น้อยมาก จำกัดอยู่ในกรอบแคบๆเท่านั้น



กระดี่ได้น้ำ

 

                  ความหมายของสำนวนนี้หมายถึงอาการของคนที่ดีอกดีใจสุดๆ หรือตื่นเต้นมากๆ  จนทำให้แสดงอาการออกนอกหน้า ไมสามารถควบคุมอารมณ์เหล่านั้นได้



กลมกลิ้งเป็นลูกมะนาว



 


               ความหมายของสำนวนนี้หมายถึงพฤติกรรมกลับกลอก กะล่อนมากจนตามไม่ทัน 


สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไท


คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม

สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

               ความหมายของสำนวนนี้หมายถึง คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้




คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล







สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย

              ความหมายของสำนวนนี้หมายถึง คบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย




ขว้างงูไม่พ้นคอ





สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย
                                                         

               ความหมายของสำนนวนนี้หมายถึง มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้



ข้าวใหม่ปลามัน

                                                       
                                                  à¸ªà¸¸à¸ à¸²à¸©à¸´à¸• สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไทย       


               ความหมายขอสำนวนนี้หมายถึง สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ



คางคกขึ้นวอ

                                                  


             ความหมายของสำนนวนนี้หมายถึง เปรียบเทียบคนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดีแล้วก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว วอในที่นี้ มีความหมายถึง วอที่นั่ง มีบริวารคอยหามเวลาเดินทางไปใหนมาใหน



สุภาษิต สํานวนไทย หรือ สำนวนสุภาษิตไท




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น